สิ่งแวดล้อมป่าชายเลน

     ทางด้านสิ่งแวดล้อมป่าชายเลน มีความสำคัญในด้านการอนุรักษ์พื้นที่ชายฝั่งทะเลโดยเฉพาะช่วยลดภาระน้ำเสียและยังช่วยทำให้เกิดการงอกของแผ่นดินขยายออกไปสู่ทะเลอีกด้วย ความสำคัญของป่าชายเลนด้านการอนุรักษ์พื้นที่ชายฝั่งทะเลนั้น ไพโรจน์ (2534) สรุปไว้ดังนี้
          ก) ป่าชายเลนเป็นฉากกำบังภัยธรรมชาติ เพื่อป้องกันลมพายุมรสุมต่อการ
พังทลายของดินที่อยู่บริเวณชายฝั่งทะเล
         ข) ป่าชายเลนช่วยป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ รากของต้นไม้ในป่าชายเลนที่งอกออกมาเหนือพื้นดิน จะทำหน้าที่คล้ายตะแกรงธรรมชาติ คอยกลั่นกรองสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ที่มากับกระแสน้ำ ทำให้น้ำในแม่น้ำ ลำคลอง และชายฝั่งทะเลสะอาดขึ้น
          ค) ป่าชายเลนช่วยทำให้พื้นดินบริเวณชายฝั่งทะเลงอกขยายออกไปในทะเล รากของต้นไม้ในป่าชายเลน นอกจากจะช่วยป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษแล้ว ยังช่วยทำให้ตะกอนที่แขวนลอยมากับน้ำทับถมเกิดเป็นแผ่นดินงอกใหม่ เมื่อระยะเวลานาน ก็จะขยายออกไปในทะเลเกิดเป็นหาดเลน อันเหมาะสมแก่การเกิดของพันธุ์ไม้ป่าชายเลน จากการสำรวจของกรมป่าไม้ในปี 2528 พบว่ามีหาดเลนงอกใหม่ประมาณ 62,906 ไร่ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช เพชรบุรีและจังหวัดอื่น ๆ
ป่าชายเลนเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของชายฝั่งทะเลไทย  
ปัจจุบันความเจริญเข้ามาทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
จากป่าชายเลนกลายเป็น นากุ้ง โรงงานอุตสาหกรรม  ที่พักอาศัย   สถานที่ท่องเที่ยว
"เป็นการ ทำลาย ระบบนิเวศ ของป่าชายเลน"
เนื่องจากป่าชายเลนเป็นแหล่งโซ่อาหารที่สมบูรณ์   และเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำในช่วงของตัวอ่อน
และที่สำคัญแนวป่าชายเลนสามารถป้องกันคลื่นลม   การพังทลายของพื้นที่ชายฝั่ง  
ทั้งยังกรองของเสียและตะกอนต่างๆ ก่อนที่จะไหลลงสู่ทะเลอีกด้วย