วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

หน้าแรก

  
                               ระบบนิเวศป่าชายเลน โครงสร้างระบบนิเวศป่าชายเลน มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1.โครงสร้างระบบนิเวศป่าชายเลน โครงสร้างระบบนิเวศป่าชายเลนมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
            1.1 ผู้ผลิต (producer) คือ พวกที่สร้างอินทรีย์สาร โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้แก่ แพลงตอนพืช สาหร่าย และพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆในป่าชายเลน   
             1.2 ผู้บริโภค (consumers) สามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆดังนี้
 - กลุ่มผู้บริโภคหรือกินอินทรีย์สาร ได้แก่ สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก และพวกหอยฝาเดียว รวมไป ถึงพวกปลาบางชนิด
 - กลุ่มผู้บริโภคหรือกินพืชโดยตรง พวกนี้จะกินทั้งพืชโดยตรง เช่นแพลงตอน สัตว์ปู ไส้เดือนทะเล และปลาบางชนิด เป็นต้น
 - กลุ่มผู้บริโภคหรือกินสัตว์ ซึ่งรวมถึงพวกกินสัตว์ระดับแรก หรือระดับต่ำได้แก่ พวกกุ้ง ปู ปลา ขนาดเล็ก และพวกนกกินปลาบางชนิด ส่วนพวกกินสัตว์ระดับสูงสุดหรือยอด ได้แก่ ปลาขนาดใหญ่ นก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และที่สำคัญที่สุดคือมนุษย์นั่นเอง
 -กลุ่มบริโภคกินทั้งพืชและสัตว์ ได้แก่ปลาบางชนิด แต่ส่วนใหญ่สัตว์กลุ่มนี้มักจะกินพืชมากกว่ากินสัตว์
             1.3 ผู้ย่อยสลาย (decomposers) ได้แก่ แบคทีเรีย รา และพวกคัสเตเชีย
2.ความสัมพันธ์ในแง่อาหารและการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศป่าชายเลนในป่าชายเลน
               โซ่อาหารแบ่งออกได้เป็น2 แบบใหญ่ๆคือแบบแรกเป็นลูกโซ่อาหารที่เริ่มจากพืชสีเขียวไปสู่สัตว์ชนิดอื่นในระดับอาหารต่างๆที่สูงกว่า ซึ่งเรียกว่า grazing food chainและแบบที่สองเป็นลูกโซ่อาหารที่เริ่มจากอินทรีย์สารไปสู่สัตว์ชนิดอื่นๆในระดับอาหารที่สูงกว่า เรียกว่า detrital food chain ความสัมพันธ์ในแง่อาหารหรือการหมุนเวียนของธาตุอาหารและการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศป่าชายเลนเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนพอสมควร แต่อย่างไรก็ตาม พอจะอธิบายเข้าใจได้ง่ายๆคือเริ่มแรกเมื่อพันธุ์พืชชนิดต่างๆที่อยู่ในป่าชายเลนได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสง ทำให้เกิดอินทรีย์วัตถุและการเจริญเติบโตขึ้นโดยเรียกพวกนี้ว่า ผู้ผลิต ส่วนของต้นไม้โดยเฉพาะใบไม้ กิ่งไม้ และเศษไม้ นอกเหนือจากส่วนที่เป็นลำต้น ซึ่งมนุษย์นำไปใช้ประโยชน์จะร่วงหล่นทับถมในน้ำและดิน และในที่สุดก็กลายเป็นแร่ธาตุอาหาของพวกจุลชีวัน หรือเรียกว่า ผู้บริโภค

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ภาวะโลกร้อน

           ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้มาจากก๊าซเรือนกระจก (Greenhousegases) ปรากฏการณ์เรือนกระจกสำคัญกับโลก
เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช)จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก

         
แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของคาร์บอนไดออกไซด์ที่ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปี


สาเหตุ
                                       

            ภาวะโลกร้อนเป็นภัยพิบัติที่มาถึง โดยที่เราทุกคนต่างทราบถึงสาเหตุของการเกิดเป็นอย่างดี นั่นคือ การที่มนุษย์เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอซซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตพลังงาน เราต่างทราบดีถึงผลกระทบบางอย่างของภาวะโลกร้อน เช่น การละลายของน้ำแข็งในขั้วโลก ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ความแห้งแล้งอย่างรุนแรง การแพร่ระบาดของโรคร้ายต่างๆ อุทกภัย ปะการังเปลี่ยนสีและการเกิดพายุรุนแรงฉับพลัน โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ ประเทศตามแนวชายฝั่ง ประเทศที่เป็นเกาะ และภูมิภาคที่กำลังพัฒนาอย่างเอเชียอาคเนย์


 กลไกของสภาวะโลกร้อน
          ในสภาวะปกติ โลกเราจะได้รับพลังงานประมาณ 99.95 % จากดวงอาทิตย์ ในรูปแบบของการแผ่รังสี พลังงานที่เหลือมาจากความร้อนใต้ภิพซึ่งหลงเหลือจากการก่อตัวของโลกจากฝุ่นธุลีในอวกาศ และการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ในโลก ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์มาโลกเราสามารถรักษาสมดุลย์ของพลังงานที่ได้รับอย่างดีเยี่ยม โดยมีการสะท้อนความร้อนและการแผ่รังสีจากโลกจนพลังงานสุทธิที่ได้รับในแต่ละวันเท่ากับศูนย์ ทำให้โลกมีสภาพอากาศเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตหลากหลาย

                                                             
           กลไกหนึ่งที่ทำให้โลกเรารักษาพลังงานความร้อนไว้ได้ คือ "ปรากฏกาiเรือนกระจก" (greenhouse effect) โดยโลกจะมีชั้นบาง ๆ ของแก๊สกลุ่มหนึ่งเรียกว่า "แก๊สเรือนกระจก" (greenhouse gas) ที่ทำหน้าที่ดักและสะท้อนความร้อนที่โลกแผ่กลับออกไปในอวกาศให้กลับเข้าไปในโลกอีก หากไม่มีแก๊สกลุ่มนี้ โลกจะไม่สามารถเก็บพลังงานไว้ได้ และจะมีอุณหภูมิแปรปรวนในแต่ละวัน แก๊สกลุ่มนี้จึงทำหน้าที่เสมือนผ้าห่มบาง ๆ ที่คลุมโลกที่หนาวเย็น

ปรากฏการณ์เรือนกระจกคืออะไร?


                                                             
           "ปรากฏการณ์เรือนกระจก" (greenhouse effect) คือ ปรากฏการณ์ที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องจาก พลังงานแสงอาทิตย์ ์ในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรทที่สะท้อนกลับถูกดูดกลืนโดยโมเลกุลของ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)  มีเทน (CH4) และ CFCsไนตรัสออกไซด์ (N2O)ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเหล่านี้มีพลังงานสูงขึ้นมีการถ่ายเทพลังงานซึ่งกันและกันทำให้อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศสูงขึ้นการถ่ายเทพลังงานและความยาวคลื่นของโมเลกุลเหล่านี้ต่อๆกันไป ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเกิดการสั่นการเคลื่อนไหว ตลอดเวลาและมาชนถูกผิวหนังของเรา ทำให้เรารู้สึกร้อน    
              เพื่อให้เห็นภาพของการเกิด ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เปรียบปรากฏการณ์นี้กับการจอดรถไว้กลางแจ้ง โดยปิดหน้าต่างทุกบานให้สนิท แสงอาทิตย์จะสาดส่องเข้ามาภายในรถได้ จากนั้นบรรดาเบาะนั่งจะดูดซับเอาความร้อนไว้ โดยไม่สามารถปล่อยหรือสะท้อนความร้อนให้หลุดลอดผ่านออกจากตัวรถได้ ทำให้อากาศภายในรถร้อน ตราบใดที่เรายังไม่เปิดกระจก อุณหภูมิภายในรถจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกันโลกเราเก็บแต่ความร้อนไว้ ไม่สามารถปล่อยกลับออกไปได้ ทำให้โลกร้อนดังนั้น ปรากฏการณ์เรือนกระจก จึงเป็นหนึ่งวิกฤตการณ์ เกิดจากการรวมตัวหนาแน่นของก๊าซ จากอุตสาหกรรม และควันพิษ เช่น ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือรถยนต์ หรือแม้แต่ก๊าซมีเทน ที่เกิดจากนาข้าว ล้วนส่งผลกระทบด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งมีผลทำให้ความร้อน ของอากาศที่มีอยู่ในโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆและความร้อนจะไปละลายน้ำแข็งที่ขั้วโลกทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นส่งผลต่อประเทศที่เป็นหมู่เกาะ และชายฝั่งของทวีป ตลอดจนดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ที่ใช้สำหรับเป็นที่ผลิตอาหารจมอยู่ใต้ทะเล ภัยพิบัติทางธรรมชาติจะรุนแรงมากขึ้น 
            โลกมีชั้นบรรยากาศคลุมเปรียบเสมือนเรือนกระจกแสงอาทิตย์สามารถส่องผ่านชั้นบรรยากาศลงมาได้ เมื่อแสงจากดวงอาทิตย์ ส่องมากระทบกับชั้นบรรยากาศ ชั้นบรรยากาศจะสะท้อน รังสีบางส่วนกลับออกไปในอวกาศ แต่รังสีส่วนใหญ่ จะส่องผ่านชั้นบรรยากาศ ลงมายังพื้นผิว โลกต้นไม้และพืชบนผิวโลกจะปล่อยรังสีอินฟราเรด ไปกระทบกับ มเลกุลของก๊าซในชั้นบรรยากาศ ก๊าซจะดูดซับรังสีส่วนหนึ่งไว้และรังสีที่เหลือจะสะท้อนกลับมายังผิวโลกทำให้ภายในโลกอบอุ่นขึ้นและมีอุณหภูมิเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต   นักวิทยาศาสตร์จึงเปรียบเทียบ ปรากฏการณ์ที่ความร้อนภายใน โลก ถูกกับดักความร้อน หรือก๊าซเรือนกระจกว่าเป็น ปรากฏการณ์เรือนกระจก” 
             ทราบกันแล้วว่า ก๊าซเรือนกระจกทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น เมื่อ ก๊าซเรือนกระจกมีปริมาณมากขึ้น ก๊าซเหล่านี้จะทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น และสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่ง ปรากฏการณ์เรือนกระจกจะทำให้ฤดูหนาวสั้นลง ส่วนฤดูร้อนจะยาวนานขึ้น และอาจทำให้พื้นดินบางแห่งบนโลกกลายเป็นทะเลทราย ในเขตร้อนอาจจะมีพายุบ่อยครั้ง และรุนแรง ส่วนที่บริเวณขั้วโลก ความร้อน จะทำให้หิมะละลาย เมื่อหิมะละลาย ปริมาณน้ำในทะเลก็จะเพิ่มขึ้น มีผลต่อการเกิดอุทกภัย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อพืช และสัตว์ เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ทำให้ปากใบของพืชปิด ไม่สามารถรับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำได้ การสังเคราะห์ด้วยแสงลดลง  สัตว์บางชนิดอาจได้รับความกระทบกระเทือนต่อเนื้อเยื่อตา ผิวหนัง และเป็นเหตุให้สัตว์ต่าง ๆสูญพันธุ์ไปในที่สุด
            โลกเรามีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปเพราะ ปรากฏการณ์เรือนกระจก สาเหตุที่สำคัญจากมนุษย์ทำลายธรรมชาติจนสูญเสียสมดุล อุณหภูมิภายในโลกจึงร้อนขึ้นจนสิ่งมีชีวิตบางชนิดทนไม่ได้และตายไป หรือบางอย่างใกล้สูญพันธ์                                                                      

ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน


                                     

            แม้ว่าโดยเฉลี่ยแล้วอุณหภูมิของโลกจะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อเป็นทอด ๆ และจะมีผลกระทบกับโลกในที่สุด ขณะนี้ผลกระทบดังกล่าวเริ่มปรากฏให้เห็นแล้วทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ การละลายของน้ำแข็งทั่วโลก ทั้งที่เป็นธารน้ำแข็ง (glaciers) แหล่งน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก และในกรีนแลนด์ซึ่งจัดว่าเป็นแหล่งน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก น้ำแข็งที่ละลายนี้จะไปเพิ่มปริมาณน้ำในมหาสมุทร เมื่อประกอบกับอุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำสูงขึ้น น้ำก็จะมีการขยายตัวร่วมด้วย ทำให้ปริมาณน้ำในมหาสมุทรทั่วโลกเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมาก ส่งผลให้เมืองสำคัญ ๆ ที่อยู่ริมมหาสมุทรตกอยู่ใต้ระดับน้ำทะเลทันที มีการคาดการณ์ว่า หากน้ำแข็งดังกล่าวละลายหมด จะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 6-8 เมตรทีเดียว
                 เดวิท พิเมนเทล นักนิเวศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนลในอเมริกา ระบุว่าโลกร้อนขึ้นจะ
ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การฟักตัวของเชื้อโรคและศัตรูพืชที่เป็นอาหารของมนุษย์บางชนิด โรคที่ฟักตัวได้ดีในสภาพร้อนชื้นของโลก จะสามารถเพิ่มขึ้นมากในอีก
20 ปีข้างหน้า ทั้งจะมีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในโรคมาลาเรีย ไข้ส่า อหิวาตกโรค และอาหารเป็นพิษนักวิทยาศาสตร์ในที่ประชุมองค์การอนามัยโลก และ London School of Hygiene and Tropical Medicine วิทยาลัยศึกษาด้านสุขอนามัยและเวชศาสตร์เขตร้อนของอังกฤษ แถลงว่า ในแต่ละปีประชาชนราว 160,000 คนเสียชีวิตเพราะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ตั้งแต่โรคมาลาเรีย ไปจนถึงการขาดแคลนสุขอนามัยที่ดี และตัวเลขผู้เสียชีวิตนี้อาจเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัวในอีก 17 ปีข้างหน้า แถลงการณ์ของคณะแพทย์ระดับโลกระบุว่า เด็กในประเทศกำลังพัฒนาจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด เช่นในประเทศแถบแอฟริกา ละตินอเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะต้องเผชิญกับการแพร่ขยายของการขาดแคลนสุขอนามัยโรคท้องร่วง และโรคมาเลเรีย ท่ามกลางอุณหภูมิโลกร้อนขึ้น น้ำท่วม และภัยแล้ง
           สภาวะโลกร้อนยังส่งผลให้บางบริเวณในโลกประสบกับสภาวะแห้งแล้งอย่างอย่างไม่เคยมีมาก่อน เช่น ขณะนี้ได้เกิดสภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้นอีกเนื่องจากต้นไม้ในป่าที่เคยทำหน้าที่ดูดกลืนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ล้มตายลงเนื่องจากขาดน้ำ นอกจากจะไม่ดูดกลืนแก๊สต่อไปแล้ว ยังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจากกระบวนการย่อยสลายด้วย และยังมีสัญญาณเตือนจากภัยธรรมชาติอื่น ๆ อีกมา ซึ่งหากเราสังเกตดี ๆ จะพบว่าเป็นผลจากสภาวะนี้ไม่น้อย
    
             การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กทีละน้อย แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดได้แก่ ความแห้งแล้งอย่างรุนแรง วาตภัย อุทกภัย พายุฝนฟ้าคะนอง พายุทอร์นาโด แผ่นดินถล่ม และการเกิดพายุรุนแรงฉับพลัน จากภาวะอันตรายเหล่านี้พบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ที่เสี่ยงกับการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งได้รับผลกระทบมากกว่าพื้นที่ส่วนอื่นๆ ยังไม่ได้รับการเอาใจใส่และช่วยเหลือเท่าที่ควร นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่า การที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น เป็นเหตุให้ปริมาณผลผลิตเพื่อการบริโภคโดยรวมลดลง ซึ่งทำให้จำนวนผู้อดอยากหิวโหยเพิ่มขึ้นอีก 60-350 ล้านคน

             ภาวะโลกร้อนภายในช่วง 10 ปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มานี้ ได้มีการบันทึกถึงปีที่มีอากาศร้อนที่สุดถึง 3 ปีคือ ปี พ.ศ. 2533, พ.ศ.2538 และปี พ.ศ. 2540 แม้ว่าพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังมีความไม่แน่นอนหลายประการ แต่การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ได้เปลี่ยนหัวข้อจากคำถามที่ว่า "โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ" เป็น "ผลกระทบจากการที่โลกร้อนขึ้นจะส่งผลร้ายแรง และต่อเนื่องต่อสิ่งที่มีชีวิตในโลกอย่างไร" ดังนั้น ยิ่งเราประวิงเวลาลงมือกระทำการแก้ไขออกไปเพียงใด ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น และบุคคลที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ ลูกหลานของพวกเราเอง

                ปัญหาด้านสุขภาพ ก็เป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงนี้ด้วย เนื่องจากอุณหภูมิและความชื้นที่สูงขึ้น ส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของยุ่งมากขึ้น ซึ่งนำมาสู่การแพร่ระบาดของไข้มาเลเรียและไข้ส่า นอกจากนี้โรคที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น อหิวาห์ตกโรค ซึ่งจัดว่าเป็นโรคที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วโรคหนึ่งในภูมิภาคนี้ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จากอุณหภูมิและความชื้นที่สูงขึ้น คนยากจนเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงนี้ ประกอบกับการให้ความรู้ในด้านการดูแลรักษาสุขภาพที่ดี ยังมีไม่เพียงพอ

วิธีลดภาวะโลกร้อน

                                    

            ถ้าท่านคิดว่าการลดภาวะโลกร้อนนั้นมันทำได้ยาก หรือคิดว่าท่านคนเดียวช่วยโลกไม่ได้ หรือว่าจะทำตอนนี้มันก็ไม่มีอะไรดีขึ้นแล้ว ท่านกำลังคิดผิด!! ทุกอย่างที่เราทำจะส่งผลดีต่อโลก และมันยังมีเวลาอยู่ ถ้าไม่เริ่มที่ตัวเราก่อนก็ไม่รู้จะให้ไปเริ่มจากตรงไหน แค่เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างของเราทำอยู่ในวันๆหนึ่ง ก็สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้แล้ว ผมจะยกตัวอย่างให้ดูซัก 10 ข้อ ผมเชื่อว่ามันใกล้ตัวทุกท่านมาก และสามารถลงมือทำได้เลยด้วยซ้ำ

          1. ปรับ Desktop Wallpaper ของท่านให้เป็นสำเข้ม ยิ่งเป็นสีดำเลยยิ่งดี เพราะว่ามันจะประหยัดไฟมากกว่า รวมไปถึง Screen Saver ก็ให้ตั้ง Blank ไว้ มันจะเป็นหน้าจอดำสนิท ปิดคอมพิวเตอร์เมื่อไม่ได้ใช้งาน เช่น ตอนพักเที่ยง และตอนกลับบ้าน
          2. พกผ้าเช็ดหน้า แทนที่จะใช้กระดาษทิชชู สมัยนี้มีกระดาษทิชชูห่อสวยๆพกง่ายๆออกมา หลายคนใช้มันแทนผ้าเช็ดหน้า เพราะว่ามันสะดวกและห่อมันก็น่ารักด้วย แต่กระดาษทิชชูผลิตมาจากต้นไม้ ยิ่งใช้มากก็ยิ่งต้องตัดมาก ถ้าไม่จำเป็นก็ให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าดีกว่าครับ เก็บต้นไม้ไว้เป็นปอดให้กับโลกเราบ้างเถอะนะ
          3. การชาร์ตแบตมือถือ การชาร์ตแบตมือถือของคนทั่วๆไปเสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ถึง 95% เพราะว่ามักจะเสียบสายค้างไว้ทั้งๆที่แบตเต็มแล้ว ท่านรู้ไหมว่าถึงแบตจะเต็มแล้วแต่ว่าถ้าไม่ถอดออกมันก็จะยังกินไฟอยู่ ฉะนั้นเวลาแบตเต็มแล้วก็ให้ถอดสายออก แต่ถ้ายังเสียบหม้อแปลงกับเต้าเสียบค้างไว้มันก็ยังกินไฟอยู่ดี เพราะฉะนั้นก็ให้ถอดออกให้หมด
          4. ประหยัดน้ำ อย่าใช้น้ำแบบสิ้นเปลือง ถ้ามีโอกาสได้เปลี่ยนก๊อกที่บ้าน ก็ให้ใช้ก๊อกน้ำแบบเพิ่มฟองอากาศ น้ำที่ไหลออกมาจะมีฟองอากาศออกมาด้วยทำให้ดูเหมือนมีน้ำเยอะ แต่จะประหยัดกว่าก๊อกธรรมดาถึงครึ่งหนึ่ง ถ้านึกไม่ออกให้ดูห้องน้ำตามห้าง น้ำที่ไหลออกมาจะเป็นแบบนั้น และเวลาใช้น้ำที่อื่นที่ไม่ใช่บ้านเราก็ควรจะประหยัดด้วย ไม่ใช่คิดว่าของฟรี หรือเวลาไปพักตามโรงแรมก็อย่าคิดว่าใช้ให้คุ้ม เพราะว่าทำแบบนี้แหละโลกถึงร้อน
           5. ประหยัดไฟ ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้และถอดปลั๊กด้วย รวมไปถึงหลอดไฟด้วย ถ้ามีโอกาสก็เปลี่ยนหลอดไส้เป็นหลอดประหยัดไฟ CFL ซะ ที่มันเป็นเกลียวๆ ถึงหลอดพวกนี้จะแพงกว่า แต่ก็ประหยัดไฟกว่ามาก แถมอายุการใช้งานก็ยาวกว่าเยอะ ซึ่งในระยะยาวก็จะคุ้มกว่าแน่นอน
           6. ลดใช้ถุงพลาสติก ถุงพลาสติกทำให้เราสะดวกขึ้นก็จริง แต่มันเป็นภัยต่อโลกอย่างมากมาย กว่าถุงที่เราใช้จะย่อยสลายไป ตัวเรานั้นย่อยสลายก่อนมันไปนานแล้ว เพราะฉะนั้นเวลาที่ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใช้ แต่ถ้าต้องใช้จริงๆก็ให้เก็บไว้เพื่อนำไปใช้ครั้งต่อไปได้อีก เวลาจ่ายตลาดก็ให้ใช้ถุงผ้าแทน ถุงผ้าสวยๆก็มีออกมาขายกันเยอะแยะ
           7. ลดอาหารแช่แข็ง อาหารแช่แข็งตอนนี้กำลังมีมากขึ้นเรื่อยๆ และก็เห็นมีคนนิยมบริโภคมากขึ้นเหมือนกัน แต่ท่านรู้ไหมว่าขั้นตอนการผลิตนั้นทำให้สิ้นเปลืองพลังงานอย่างมาก เพราะว่ากล่องที่ใส่ก็เป็นพลาสติก ขั้นตอนในการขนส่งก็ต้องเก็บไว้ในที่เย็นตลอดเวลา รวมไปถึงตอนที่อยู่ในร้านด้วย แม้กระทั่งตอนจะกินยังต้องใช้พลังงานในการอุ่นอีก เพราะฉะนั้นถ้าไม่จำเป็นก็อย่ากินเลยครับ มันสิ้นเปลืองพลังงาน กินของสดอร่อยกว่าอีก
           8. ใช้จักรยาน เวลาที่ท่านไปทำธุระใกล้ๆบ้าน อาจจะไปซื้อของ จ่ายตลาด นอกจากจะประหยัดน้ำมันในยุคที่น้ำมันแพงแล้ว ยังช่วยให้ท่านได้ออกกำลังกาย มีสุขภาพที่ดีอีกด้วย ไม่ต้องไปเสียเงินเข้าฟิตเนสแพงๆ
           9. ลดการ Shopping หลายคนนั้นการ Shopping เป็นอะไรที่มีความสุขเหลือเกิน แต่ก็ขอให้ลดการซื้อแบบสิ้นเปลืองลงบ้าง บางทีก็ซื้อๆไปอย่างนั้นแหละ แต่ก็ได้ใส่แค่ครั้งสองครั้ง บางชิ้นอาจไม่ได้ใส่ด้วยซ้ำ แต่อยากซื้อ..อะไรที่คิดว่าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องซื้อหรอกครับ เอาแค่อันที่เราจะใส่จริงๆ เพราะว่ามันต้องใช้พลังงานมากมายในอุตสาหกรรมพวกนี้
         10. ปลูกต้นไม้ ผมว่ามนุษย์ทุกคนชอบธรรมชาติ เวลาที่เราได้เห็นสถานที่ที่มีธรรมชาติงดงาม ไม่ว่าจะเป็นป่าไม่ที่เขียวชอุ่ม น้ำใสๆ ชายหาดที่ขาวสะอาด เราจะรู้สึกสบายใจและชอบมัน แต่ว่าพวกเราก็ไม่ได้ช่วยกันรักษามัน เพราะฉะนั้นถ้ามีเวลาก็ให้ช่วยกันปลูกต้นไม้ อาจจะเป็นที่สวนหน้าบ้านได้ หรือมีเนื้อที่ตรงไหนก็ปลูกตรงนั้น ใส่กระถางไว้ก็ได้ นอกจากจะทำให้บ้านดูสวยขึ้นแล้ว ยังจะช่วยลดก๊าซพิษในอากาศได้อีกด้วย